f
title
แขวงทางหลวงเชียงใหม่ที่ 1
Chiangmai 1 Highways District
วิสัยทัศน์ : มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรให้ก้าวทันกับความต้องการของผู้ใช้ถนน ทั้งความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ความพึงพอใจ ตามหลักวิศวกรรม
กรมทางหลวง เปิดใช้สะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟ สายทางเลี่ยงเมืองจักราช จ.นครราชสีมา เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจราจร และแก้ปัญหาอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟ
ลงวันที่ 13/02/2567

กรมทางหลวง โดยสำนักก่อสร้างสะพาน ได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างสะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟ สายทางเลี่ยงเมืองจักราช จ.นครราชสีมา ระยะทาง 1.859 กิโลเมตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน แก้ปัญหาอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟ เป็นไปตามนโยบายของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการสัญจรแก่ประชาชน 

สะพานจุดตัดทางรถไฟ สายทางเลี่ยงเมืองจักราช จ.นครราชสีมา ดำเนินการในพื้นที่บริเวณจุดตัดทางรถไฟกับทางหลวงหมายเลข 226 ตอน หัวทะเล - หนองกระทิง (นครราชสีมา - บุรีรัมย์) ซึ่งในปัจจุบันมีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประสบปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การเกิดอุบัติเหตุในบริเวณจุดตัดผ่านทางรถไฟบนทางหลวง ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกและความปลอดภัย ซึ่งกรมทางหลวงได้ดำเนินการเพื่อป้องกันอุบัติเหตุดังกล่าว โดยทำการปรับปรุงจุดตัดผ่านทางรถไฟให้สอดคล้องกับมาตรการความปลอดภัยของการรถไฟแห่ง ประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและความปลอดภัยตลอดการเดินทาง และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว กรมทางหลวงจึงได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างสะพานข้ามจุดตัดทางรถไฟ สายทางเลี่ยงเมืองจักราช จ.นครราชสีมา ระหว่างทางหลวงหมายเลข 226 ตอน หัวทะเล - หนองกระทิง (นครราชสีมา - บุรีรัมย์) ตั้งแต่ กม.ที่ 39+800 ถึง กม.ที่ 41+050 และทางหลวงหมายเลข 2162 ตอน ทางเข้าเมืองจักราช ตั้งแต่ กม.ที่ 0+000 ถึง กม.ที่ 0+609 รวมระยะทางทั้งหมด 1.859 กิโลเมตร มีลักษณะงานก่อสร้างเป็นสะพานคอนกรีตอัดแรง (U-Girder) ขนาด 4 ช่องจราจร มีความยาว 443 เมตร และความกว้าง 16.6 เมตร จำนวน 1 แห่ง พร้อมก่อสร้างเชิงลาดและกำแพงกันดินคอสะพาน ผิวจราจรแอสฟัลต์คอนกรีต รวมงานวางท่อระบายน้ำและบ่อพัก งานติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง งานตีเส้นจราจร และงานอำนวยความปลอดภัย วงเงินงบประมาณ 288.65 ล้านบาท

ปัจจุบัน โครงการฯ ได้ทำการเปิดให้บริการแก่ประชาชนเพื่อใช้ในการสัญจรแล้ว และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจราจรให้แก่ประชาชนให้ได้รับความสะดวกและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ลดการเกิดอุบัติเหตุ ร่นระยะเวลาในการเดินทางระหว่าง จ.นครราชสีมา และ จ.บุรีรัมย์ และรองรับการพัฒนาโครงการขนส่งทางราง ได้แก่ รถไฟทางคู่ ในอนาคต


'